วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

โครงสร้างการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ในการทำงานของหุ่นยนต์


ภาพ diagram การติดต่อกับส่วนต่าง ๆ ในการทำงานของหุ่นยนต์

จากภาพมีการแบ่งการทำงานของหุ่นยนต์ดังนี้

     1.  ส่วนของการประมวลผล ได้แก่
-  Microcontroller : dsPIC33FJ256MC710A 
RTC Module ds1307   
-   Ethernet Module ENC28J60 

     2.  ส่วนของ Input ได้แก่
-  Ultrasonic Sensor
-  Infrared Sensor
-  CMOS Camera Module

     3.  ส่วนของ Output ได้แก่
-  SD Card

     4.  ส่วนของการขับเคลื่อน ได้แก่
-  Microcontroller : dsPIC30F4011
-  Driver Circuit : IR2110 ( BLDC Motor) , L298N (DC Motor)
-  Motor : BLDC Motor , DC Motor


รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของการทำงานในแต่ละส่วน ได้อธิบายไว้ใน blog นี้ทั้งหมดแล้ว!!


โครงของหุ่นยนต์

ภาพ โครงของหุ่นยนต์ที่ออกแบบด้วยโปรแกม Solid Works 2010

               ภายในโครงหุ่นยนต์ประกอบไปด้วย
 ชั้นแรก                                                                                       
  •  แบตเตอร์รี่                                                                          
  •  Ultrasonic Sensor                                                                  
  •  Infrared Sensor                                                                      
  • บอร์ด dsPIC30F4011
  • บอร์ด 2 Level Shifter
  • บอร์ดไดร์ฟ DC Motor
  • บอร์ด Real Time Clock

ชั้นที่สอง
  • Wireless Access Point
  • บอร์ด Ethernet Module
  • บอร์ด dsPIC33FJ256MC710A 

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

My poster MRP


ภาพตัวอย่าง poster ครั้งที่ 1


สามารถ download pdf posterครั้งที่1 >>> ที่นี่ <<<

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

Brushless DC Motor

รายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวกับ BLDC Motor  ประกอบด้วย


 §  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ  BLDC Motor
  §  หลักการทำงานของ BLDC Motor
  §  แนะนำ วงจร MOSFET Driver
                         >>>>>สนใจสามารถ Download PDF  ได้ ที่นี่ <<<<<
ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก
    เกี่ยวกับ BLDC Motor
           Application Note
    เกี่ยวกับ MOSFET  Driver
         IC Driver : datasheet IR 2110
         MOSFET : datasheet IRFZ44N

   ผลการทดลองให้ BLDC Motor หมุนได้แบบเบื้องต้น
      หมุนโดยไม่ใช้ Hall Sensor
      หมุนโดยใช้  Hall Sensor

ผู้ที่สนใจในเรื่อง BLDC Motor รายละเอียดต่างๆ จะนำมาเพิ่มเติมอีก!! 
=> โปรดติดตามในตอนต่อไป +

Infrared Sensor

     รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์ มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุ คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย โดยในโปรเจ็คนี้เราใช้ TSAL4400 เป็นตัวส่ง และ TOPS-030TB2 เป็นตัวรับ และต่อวงจรดังรูป


รูป ตัวรับ TOPS-030TB2

รูป ตัวส่ง TSAL4400

รูป วงจร Infrared with Comparator
โดยเราใช้ LM311 ซึ่งเป็น Comparator มาใช้ในการเปรียบเทียบแรงดัน เพื่อให้ output ที่ได้นั้นออกมาเป็นลอจิก '0' หรือ '1'
 
datasheet :
 
TOPS-030TB2
TSAL4400

SD Card

         Secure Digital Card (SD Card) คิดค้นขึ้นโดย 3 บริษัทคือToshiba/Panasonic/Sandisk เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ในกล้องดิจิตอลหลายยี่ห้อในปัจจุบัน และกล้องรุ่นที่มีขนาดเล็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในโทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ PDA หลายๆ รุ่นด้วย เพราะขนาดของการ์ดเล็ก สามารถอ่านเขียนข้อมูลได้เร็ว มีตัวเลือกให้เลือกหลายรุ่น หลายขนาด เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ง่าย และมีแนวโน้มที่ราคาจะถูกลงเรื่อยๆ


รูป ตัวอย่าง SD Card

Ultrasonic Sensor

       Ultrasonic หมายถึงคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินที่หูมนุษย์จะได้ยิน ซึ่งในทางทฤษฎีระบุไว้ว่ามนุษย์สามารถจะได้ยินเสียงที่ความถี่ 20 Hz-20 KHz ดังนั้นความหมายของคำว่า Ultrasonic จึงหมายถึง เสียงที่มีความถี่มากกว่า 20 KHz

        สาเหตุที่มีการนำเอาคลื่นย่านอุลตร้าโซนิคมาใช้ก็เพราะว่าเป็นคลื่นทีมีทิศทางทำให้เราสามารถเล็งคลื่นเสียงไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้โดยเจาะจง ทำให้สามารถควบคุมทิศทางให้เป็นไปตามที่ต้องการได้

โดยการโปรเจ็คนี้ เราเลือกใช้ SRF05 ซึ่งเป็น อัลตร้าโซนิคเซนเซอร์สำเร็จรูป



รูป SRF05 Ultrasonic Ranger


        โดย SRF05 พัฒนามาจาก SRF04 ซึ่งถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น และระยะ ตรวจจับที่ไกลขึ้น ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุไกลสุดได้ 4 m และสามารถใช้ขา Trigger ร่วมกับ ขา Echo ได้ เพื่อสามารถที่จะประหยัด port ของ MCU ได้ หรือจะแยกขา Trigger กับขา Echo เหมือนการต่อ SRF04 ได้เช่นกัน


SRF05 มีการทำงาน 2 รูปแบบด้วยกันคือ

       1. SRF04 compatible - Separate Trigger and Echo

       2. Single pin for both Trigger and Echo


ซึ่ง SRF05 มีหลักการทำงานดังนี้

       1. ทำการจ่ายพัลส์ให้ขา Trigger อย่างน้อย 10 uS เพื่อเริ่มการทำงาน

       2. SRF05 จะส่งคลื่น Ultrasonic ความถี่ 40 kHz ออกไป 8 ลูก และ ขา echo เป็น High

       3. ขา echo จะเป็น High มากที่สุด 30 mS หากเกินจากนั้น คือไม่เจอวัตถุ

       4. นำเวลาที่ Echo เป็น High มาเปลี่ยนเป็นหน่วย uS จึงจะคำนวณหาระยะได้ สามารถหาได้ 2  หน่วยคือ
           cm และ inch โดย หากหาเป็น cm จะนำเวลาไปหารด้วย 58 หากหาเป็น inch จะนำเวลาไปหารด้วย 148

       5. SRF05 สามารถทำงานได้ทุกๆ 50 mS หรือ 20 ครั้งต่อวินาที แต่ควรรอ 50 mS ในการ Trig แต่ละครั้ง

โดยสามาดู datasheet ของ SRF05 Ultrasonic Ranger ได้ ที่นี่